รายการแท็กสำหรับ XHTML ที่สามารถใช้ได้
รายการแท็กสำหรับ XHTML ที่สามารถใช้ได้ | ||||
---|---|---|---|---|
ลำดับ | ชื่อแท็ก | ชื่อเต็ม | ความหมาย/วิธีการใช้ | ประเภท |
1 | a | Anchor | ใช้สำหรับทำลิงค์ไปยังส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ ความหมายของ Anchor เป็นความหมายเปรียบเทียบกับสมอเรือ ที่ยึดเรือไว้ การทอดสมอไว้ ณ ที่แห่งหนึ่งเปรียบเหมือนการเชื่อมลิงค์กับที่แห่งนั้น | Inline |
2 | abbr | Abbreviation | ใช้กับคำย่อ ที่มีคำอ่านเฉพาะ ไม่อ่านทีละตัว เช่น NASA จะไม่อ่านว่า ”เอ็นเอเอสเอ” แต่อ่านว่า “นาซ่า” หากอ่านทีละตัวอักษร เรียกว่า Acronym | Inline |
3 | acronym | Acronym | ใช้กับคำย่อที่เอาอักษรตัวแรกของคำสำคัญมารวมกัน อ่านทีละดัวอักษร เช่น TDDF ซึ่งมาจาก ”Thai Disabled Development Foundation” อ่านทีละตัวคือ ”ทีดีดีเอฟ” | Inline |
4 | address | Address | ใช้สำหรับข้อความที่เป็นที่อยู่ | Block |
5 | blockquote | Block Quote | ใช้สำหรับข้อความที่เป็นส่วนของคำพูด เช่น สุนทรพจน์ในพิธีเปิด ฯลฯ มักใช้ร่วมกับแท็ก <p> | Block |
6 | body | Body | สำหรับประกาศส่วนที่เป็นเนื้อหาของเอกสาร HTML สามารถใช้แท็กนี้ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น | Block |
7 | br | (Line) Break | ใช้สำหรับการขึ้นบรรทัดใหม่ในอิลิเมนต์เดียวกัน ต้องอยู่ใน Block Element เท่านั้น ไม่สามารถใช้โดด ๆ ได้ สำหรับ XHTML แท็กนี้จะต้องเขียนในรูป <br />เท่านั้น เนื่องจากใน XHTML เมื่อเปิดแท็กแล้ว จะต้องปิดแท็กด้วย | Block |
8 | caption | Caption | ใช้สำหรับเป็นชื่อของตาราง ใช้ในตารางเท่านั้น | Block |
9 | cite | Cite (Citation) | ใช้กับข้อความที่เป็นแหล่งอ้างอิงของเนื้อหาที่เรากำลังกล่าวถึงอยู่ มักเป็นชื่อคนหรือชื่อหนังสือ | Inline |
10 | code | Code | ใช้สำหรับข้อความที่เป็นภาษาโปรแกรม เพื่อไม่ให้ผู้ใช้สับสนว่าเป็นข้อความธรรมดาหรือเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ | Inline |
11 | col | Column | ใช้สำหรับควบคุมคอลัมน์ของตาราง (ไม่สามารถมองเห็นได้ในบราวเซอร์) เป็นแท็กที่ต้องจบในตัวเองเช่นเดียวกับ br คือ <col /> | Other |
12 | colgroup | Column Group | ใช้สำหรับควบคุมหลายคอลัมน์ในตาราง (ไม่สามารถมองเห็นได้ในบราวเซอร์) | Other |
13 | dd | Definition Data | ใช้ร่วมกับแท็ก dl และ dt ส่วนนี้จะเป็นรายการย่อยของหัวข้อที่กำหนดไว้ใน dt | Block |
14 | dfn | Definition | ใช้สำหรับประกาศคำศัพท์ใหม่ที่ใช้เป็นครั้งแรกในหน้าเอกสาร โดยควรจะต้องมีการอธิบายเพิ่มเติมภายหลังด้วย | Inline |
15 | div | Division | ใช้สำหรับการแบ่งส่วนหรือเขตในเอกสาร มักใช้ในการวางเลย์เอาท์โดยใช้ควบคู่กับ CSS เพื่อกำหนดการแสดงผลเป็นส่วน ๆ ได้ นอกจากนี้ยังใช้เป็น Containing Element (อิลิเมนต์ที่มีอิลิเมนต์ย่อยภายใน) ด้วย | Block |
16 | dl | Definition List | ใช้เหมือนกับ ul แต่มีการกำหนดหัวข้อ (dt) และตามด้วยรายการข้อมูลย่อย (dd) ใน dl สามารถมีได้หลาย dt และตัว dt หนึ่งตัวสามารถมีได้หลาย dd | Block |
17 | dt | Definition Title | ใช้ใน dl เท่านั้น สำหรับเป็นหัวข้อหลักและจะมีหรือไม่มีรายการข้อมูลย่อย (dd) ตามมาหรือไม่ก็ได้ | Block |
18 | em | Emphasize | ใช้สำหรับเน้นความสำคัญของข้อความ (ไม่ควรใช้ <i> เพราะไม่สื่อความหมาย) | Inline |
19 | fieldset | Field Set | ใช้ใน form เท่านั้น โดยเป็นการแบ่งฟอร์มออกเป็นส่วน ๆ (ในกรณีที่ฟอร์มมีหลายส่วนที่ต้องกรอก) | Block |
20 | form | Form | ใช้สำหรับทำฟอร์มกรอกข้อมูล | Block |
21 | h1, h2, h3, h4, h5, h6 | Heading 1 – Heading 6 | ใช้สำหรับเป็นหัวเรื่องของเอกสาร โดยในเอกสาร จะต้องเริ่มต้นด้วย h1 เสมอ (โดยมากใช้เพียงครั้งเดียว) h2 จะเป็นหัวเรื่องรองของ h1 ส่วน h3 จะเป็นหัวเรื่องรองของ h2 เช่นนี้เรื่อยไปจนถึง h6 ไม่ควรมีการข้ามลำดับของ heading เช่น ข้ามจาก h1 ไป h3 หรือการเลี่ยงไม่ใช้ h1 เพราะคิดว่าตัวหนังสือใหญ่เกินไป (ซึ่งจริง ๆ แล้วสามารถกำหนดขนาดใหม่ได้ใน CSS) โดยทั่ว ๆ ไปแล้วมักจะใช้ h1 - h3 ไม่ค่อยได้ใช้ h4 - h6 มากนัก แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของเอกสาร | Block |
22 | head | Head | ใช้สำหรับประการส่วนที่เป็นส่วนหัวของเอกสาร HTML ซึ่งมีไว้สำหรับให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอกสาร HTML เช่น คำค้น, ภาษาสคริปต์ที่ใช้,ไสตล์ชีท, ชื่อของเอกสาร ฯลฯ (ไม่แสดงผลในบราวเซอร์) ใช้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นก่อน body | Other |
23 | html | HTML (Hyper Text Markup Language) | เป็นอิลิเมนต์รากของเอกสาร HTML ประกาศไว้เพื่อบอกว่าเนื้อหาที่อยู่ข้างในนี้จะเป็นเอกสาร HTML และจะมีการใช้ภาษา HTML เพื่อให้บราวเซอร์แปลความหมายได้ถูกต้อง ใช้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น | Other |
24 | img | Image | ใช้สำหรับทำภาพประกอบเอกสาร | Inline |
25 | Input | Input | ใช้ใน from เท่านั้น สำหรับทำฟอร์มกรอกข้อมูล มีหลายประเภทให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม | Inline |
26 | kbd | Keyboard | ใช้สำหรับการมาร์กอัพข้อความที่ต้องการสื่อว่าเป็นตัวอักษรบนแป้นคีย์บอร์ด เช่น <kbd>ALT</kbd> ฯลฯ เพื่อไม่ให้ผู้ใช้สับสนว่าเป็นตัวอักษรหรือข้อความธรรมดา | Inline |
27 | label | Label | ใช้ใน form เท่านั้น โดยใช้ควบคู่กับอิลิเมนต์ในฟอร์มเพื่อบอกว่าผู้ใช้ต้องกรอกข้อมูลอะไรบ้าง เป็นลักษณะเหมือนป้ายติดไว้เพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจความหมายของสิ่งที่จะต้องกรอกลงไป ต้องกำหนดแอตทริบิวต์ for ทุกครั้งเพื่อบอกความสัมพันธ์ | Inline |
28 | legend | Legend | ใช้ใน form และต้องอยู่ในแท็ก fieldset เท่านั้น โดยบอกความหมายของ fieldset ว่าเกี่ยวข้องกับอะไร เช่น เป็นส่วนที่ต้องกรอกข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา การทำงาน ฯลฯ | Block |
29 | li | List Item | ใช้ใน ul หรือ ol เท่านั้น สำหรับมาร์กอัพรายการย่อยของลิสต์รายการ | Block |
30 | link | Link | ใช้ในส่วน head เท่านั้น มีประโยชน์สำหรับการเรียกใช้งานเอกสาร CSS หรือเอกสารอื่น ๆ หรือบอกความเกี่ยวข้องของเอกสารนี้กับเอกสารอื่น ๆ(ไม่แสดงให้เห็นในบราวเซอร์) เป็นแท็กที่จบในตัวเองในรูป <link /> | Other |
31 | meta | Meta | เป็นแท็กสำหรับให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอกสาร เช่น ภาษาที่ใช้ คำค้น ชื่อผู้แต่ง ฯลฯ ใช้ในส่วน head เท่านั้นและเป็นแท็กที่จบในตัวเอง คือ <meta /> | Other |
32 | noscript | No Script | ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถใช้งานสคริปต์บางอย่างได้ เพื่อบอกว่า หากไม่สามารถใช้งานสคริปต์ได้ ให้ทดแทนด้วยเนื้อหาในแท็ก noscript (ไม่แสดงให้เห็นในบราวเซอร์) | Other |
33 | object | Object | ใช้สำหรับดึงเนื้อหาจากโปรแกรมอื่น ๆ มาใช้ในเอกสาร เช่น Flash Animation ฯลฯ ควรใช้แอตทริบิวต์ alt ด้วยเพื่อให้ข้อความทดแทนในส่วนที่โปรแกรมอ่านหน้าจอของคนพิการทางสายตาไม่สามารถเข้าถึงได้ | Block |
34 | ol | Ordered List | สำหรับบัญชีรายการแบบเรียงลำดับ | Block |
35 | optgroup | Option Group | ใช้ในแท็ก select เท่านั้น โดยใช้เป็นหัวข้อให้กับแท็ก option ในกรณีที่ต้องการแบ่ง option ออกเป็นหลาย ๆ ส่วน | Other |
36 | option | Option | ใช้ในแท็ก select เท่านั้น โดยเป็นรายการสำหรับเลือก หนึ่ง option เท่ากับหนึ่งรายการ | Other |
37 | p | Paragraph | ใช้สำหรับทำย่อหน้าหรือ paragraph ในเอกสาร เป็นแท็กที่ใช้บ่อยมาก | Block |
38 | samp | Sample | ใช้สำหรับข้อความที่เป็นผลลัพธ์จากการทำงานของโปรแกรมหรือคำสั่งคอมพิวเตอร์ | Inline |
39 | script | Script | ใช้สำหรับส่วนที่เป็นสคริปต์ภาษา มักใช้ใน head (ไม่แสดงผลในบราวเซอร์ แต่ทำงานบางอย่าง) | Other |
40 | select | Select | ใช้ใน form เท่านั้น สำหรับทำรายการ Drop down list เพื่อให้ผู้ใช้เลือกรายการที่ต้องการ | Inline |
41 | span | Span | เป็นแท็กที่ไม่มีความหมายทางโครงสร้างของเอกสารแต่สามารถใช้ได้ มักใช้สำหรับมาร์กอัพข้อความที่ต้องการเรียกใช้สคริปต์หรือคำสั่งจากเอกสาร CSS เพื่อการแสดงผลอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็น Containing Element เช่นเดียวกับแท็ก div | Inline |
42 | strong | Strong | ใช้สำหรับข้อความที่มีความหมายสำคัญ บราวเซอร์มักแสดงผลเป็นตัวหนา (ไม่ควรใช้แท็ก b เพราะไม่สื่อความหมาย) | Inline |
43 | style | Style | สำหรับส่วนที่เป็นคำสั่งสำหรับการตกแต่งเอกสาร ใช้ในส่วน head เท่านั้น | Other |
44 | table | Table | สำหรับข้อมูลที่เป็นตาราง | Block |
45 | tbody | Table Body | ใช้ในตารางเท่านั้น เพื่อแบ่งตารางออกเป็นส่วน ๆ ส่วน tbody คือส่วนที่เป็นข้อมูลที่อยู่ในตาราง | Block |
46 | td | Table Data | ใช้สำหรับใส่ข้อมูลในตาราง | Inline |
47 | textarea | Text Area | ใช้ใน from เท่านั้นสำหรับทำส่วนกรอกข้อมูลที่เป็นข้อความขนาดยาว | Inline |
48 | tfoot | Table Footer | ใช้ในตารางในการแบ่งส่วน โดยส่วน tfoot จะเป็นส่วนท้ายของตาราง เช่น สรุปข้อมูล หรือผลลัพธ์จากการคำนวณ | Block |
49 | th | Table Header | ใช้ในตารางเท่านั้น โดยปกติใช้บริเวณส่วนบนของตาราง โดยเป็นการกำหนดชื่อให้กับคอลัมน์ (แนวดิ่ง) หรือชื่อหัวแถว (แนวนอน) | Inline |
50 | thead | Table Head | ใช้ในตารางเท่านั้นเพื่อแบ่งตารางเป็นส่วน ส่วน thead คือส่วนที่เป็นหัวของตาราง มักให้ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อคอลัมน์ | Block |
51 | title | Title | ใช้ในส่วน head เท่านั้น โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อของเอกสาร | Other |
52 | tr | Table Row | ใช้ในตารางเท่านั้นสำหรับทำแถวข้อมูล | Block |
53 | ul | Unordered List | ใช้สำหรับบัญชีรายการแบบไม่มีลำดับ (หมายถึง แต่ละรายการภายในสามารถสลับตำแหน่งกันได้โดยไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในเรื่องของลำดับความสำคัญ) | Block |
54 | var | Variable | ใช้สำหรับการมาร์กอัพคำที่เป็นชื่อตัวแปรในภาษาโปรแกรม เช่น เมื่อบวกด้วยหนึ่งแล้ว ค่าของตัวแปร <var>counterNum</var> ก็จะกลายเป็น 20 ฯลฯ | Inline |