การทำให้เว็บไซต์รองรับ Web Accessibility
การทำให้เว็บไซต์รองรับ Web Accessibility นั้นมีหลายเทคนิคและวิธีการที่สามารถนำมาใช้ได้ ดังนี้
- ใช้ HTML และ CSS ที่มีความเป็นมาตรฐาน ซึ่งการใช้ HTML และ CSS ที่ถูกต้องและสอดคล้องกับมาตรฐานช่วยให้ผู้ใช้ที่มีความพิการสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น เช่น การใช้ semantic HTML เพื่อให้เนื้อหามีความหมายและมีโครงสร้างที่ชัดเจน หรือที่เรียกว่า ใช้ tag ให้ถูกความหมายนั่นเอง
- การใช้ Alt text สำหรับรูปภาพ ซึ่งการระบุข้อความที่อธิบายรูปภาพด้วยแท็ก alt attribute ทำให้ผู้ใช้ที่มีความพิการทางสายตารวมถึงอุปกรณในการอ่านเว็บไซต์สามารถเข้าใจเนื้อหาของรูปภาพได้
- การให้เนื้อหาสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ต้องใช้ JavaScript ซึ่งหากเนื้อหาสำคัญหรือฟังก์ชันสำคัญสามารถทำงานได้โดยไม่ต้องใช้ JavaScript จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การใช้งาน Sweet Alert ทำให้ผู้ที่มีควมบกพร่องด้านการมองเห็น ไม่สามารถรับรู้การแจ้งเตือนได้ การแจ้งเตือนควรใช้ Message Box ของ Browser แทน
- ทดสอบเว็บไซต์โดยใช้เครื่องมือหรือผู้ใช้ที่มีความบกพร่งเพื่อตรวจสอบว่าเว็บไซต์ของเรายังสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวกสำหรับเขาเหล่านั้นหรือไม่
- ให้ความสำคัญกับการเข้าถึงด้วยแป้นพิมพ์โดยไม่ต้องใช้เม้าส์ จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้ที่มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว เช่นการทำลิงค์ Skip To Content หรือการใช้ Shortcut ที่ถูกต้อง
- การใช้สีที่มีความเข้มหรือความคมชัดให้เพียงพอและไม่ใช้สีเพียงอย่างเดียวในการสื่อสารข้อมูลสำคัญ เพื่อให้ผู้ใช้ที่มีความบกพร่องทางสายตาสามารถเข้าถึงเนื้อหาหรือมองเห็นเนื้อหาได้อย่างถูกต้อง
- นอกจากนี้สำหรับผู้ที่มีความบกพรองทางสายตายังมีปัญหาอื่นๆเดี่ยวกับการมองเห็นเกิดขึ้นได้อีก เช่น ตาแพ้แสงจ้าไม่สามารถมองหน้าจอที่พื้นหลังเป็นสีขาวได้, เห็น Animation บนเว็บไซต์แล้วเวียนหัวถ้าแย่กว่านี้อาจถึงขั้น Animation สามารถกระตุ้นอาการชักได้เลยทีเดียว, ตาบอดสีบางสีจนไม่สามารถแยกข้อความบนปุ่มได้ออก หรือแม้กระทั่งผู้ที่ไม่สามารถมองเห็นได้เลย
- การออกแบบและเขียนโค้ดที่สามารถใช้งานได้ด้วยอุปกรณ์ช่วย เช่น จอแสดงผลที่ใช้การนำทางด้วยเสียงหรือแป้นพิมพ์ จะช่วยเพิ่มความเข้าถึงให้กับผู้ใช้ที่มีข้อจำกัดในการใช้เม้าส์
- ให้ความสำคัญกับการแสดงผลข้อมูลด้วยตาราง เพราะตารางเป็นจุดหนึ่งที่ยากต่อการทำให้อุปกรณ์อ่านออกเสียงทำงานอ่านข้อมูลในตารางให้ผู้ใช้ฟังได้อย่างถูกต้อง และสามารถทำความเข้าใจเนื้อหาในตารางได้
- การให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการเข้าถึงเนื้อหาและแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น จะช่วยให้ผู้ใช้ที่มีความบกพร่องสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น