GORAGOD.com

freelance, web developer, web designer, hosting, domain name

รายการแท็กสำหรับ XHTML ที่สามารถใช้ได้

รายการแท็กสำหรับ XHTML ที่สามารถใช้ได้
ลำดับ ชื่อแท็ก ชื่อเต็ม ความหมาย/วิธีการใช้ ประเภท
1 a Anchor ใช้สำหรับทำลิงค์ไปยังส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ ความหมายของ Anchor เป็นความหมายเปรียบเทียบกับสมอเรือ ที่ยึดเรือไว้ การทอดสมอไว้ ณ ที่แห่งหนึ่งเปรียบเหมือนการเชื่อมลิงค์กับที่แห่งนั้น Inline
2 abbr Abbreviation ใช้กับคำย่อ ที่มีคำอ่านเฉพาะ ไม่อ่านทีละตัว เช่น NASA จะไม่อ่านว่า ”เอ็นเอเอสเอ” แต่อ่านว่า “นาซ่า” หากอ่านทีละตัวอักษร เรียกว่า Acronym Inline
3 acronym Acronym ใช้กับคำย่อที่เอาอักษรตัวแรกของคำสำคัญมารวมกัน อ่านทีละดัวอักษร เช่น TDDF ซึ่งมาจาก ”Thai Disabled Development Foundation” อ่านทีละตัวคือ ”ทีดีดีเอฟ” Inline
4 address Address ใช้สำหรับข้อความที่เป็นที่อยู่ Block
5 blockquote Block Quote ใช้สำหรับข้อความที่เป็นส่วนของคำพูด เช่น สุนทรพจน์ในพิธีเปิด ฯลฯ มักใช้ร่วมกับแท็ก <p> Block
6 body Body สำหรับประกาศส่วนที่เป็นเนื้อหาของเอกสาร HTML สามารถใช้แท็กนี้ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น Block
7 br (Line) Break ใช้สำหรับการขึ้นบรรทัดใหม่ในอิลิเมนต์เดียวกัน ต้องอยู่ใน Block Element เท่านั้น ไม่สามารถใช้โดด ๆ ได้ สำหรับ XHTML แท็กนี้จะต้องเขียนในรูป <br />เท่านั้น เนื่องจากใน XHTML เมื่อเปิดแท็กแล้ว จะต้องปิดแท็กด้วย Block
8 caption Caption ใช้สำหรับเป็นชื่อของตาราง ใช้ในตารางเท่านั้น Block
9 cite Cite (Citation) ใช้กับข้อความที่เป็นแหล่งอ้างอิงของเนื้อหาที่เรากำลังกล่าวถึงอยู่ มักเป็นชื่อคนหรือชื่อหนังสือ Inline
10 code Code ใช้สำหรับข้อความที่เป็นภาษาโปรแกรม เพื่อไม่ให้ผู้ใช้สับสนว่าเป็นข้อความธรรมดาหรือเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ Inline
11 col Column ใช้สำหรับควบคุมคอลัมน์ของตาราง (ไม่สามารถมองเห็นได้ในบราวเซอร์) เป็นแท็กที่ต้องจบในตัวเองเช่นเดียวกับ br คือ <col /> Other
12 colgroup Column Group ใช้สำหรับควบคุมหลายคอลัมน์ในตาราง (ไม่สามารถมองเห็นได้ในบราวเซอร์) Other
13 dd Definition Data ใช้ร่วมกับแท็ก dl และ dt ส่วนนี้จะเป็นรายการย่อยของหัวข้อที่กำหนดไว้ใน dt Block
14 dfn Definition ใช้สำหรับประกาศคำศัพท์ใหม่ที่ใช้เป็นครั้งแรกในหน้าเอกสาร โดยควรจะต้องมีการอธิบายเพิ่มเติมภายหลังด้วย Inline
15 div Division ใช้สำหรับการแบ่งส่วนหรือเขตในเอกสาร มักใช้ในการวางเลย์เอาท์โดยใช้ควบคู่กับ CSS เพื่อกำหนดการแสดงผลเป็นส่วน ๆ ได้ นอกจากนี้ยังใช้เป็น Containing Element (อิลิเมนต์ที่มีอิลิเมนต์ย่อยภายใน) ด้วย Block
16 dl Definition List ใช้เหมือนกับ ul แต่มีการกำหนดหัวข้อ (dt) และตามด้วยรายการข้อมูลย่อย (dd) ใน dl สามารถมีได้หลาย dt และตัว dt หนึ่งตัวสามารถมีได้หลาย dd Block
17 dt Definition Title ใช้ใน dl เท่านั้น สำหรับเป็นหัวข้อหลักและจะมีหรือไม่มีรายการข้อมูลย่อย (dd) ตามมาหรือไม่ก็ได้ Block
18 em Emphasize ใช้สำหรับเน้นความสำคัญของข้อความ (ไม่ควรใช้ <i> เพราะไม่สื่อความหมาย) Inline
19 fieldset Field Set ใช้ใน form เท่านั้น โดยเป็นการแบ่งฟอร์มออกเป็นส่วน ๆ (ในกรณีที่ฟอร์มมีหลายส่วนที่ต้องกรอก) Block
20 form Form ใช้สำหรับทำฟอร์มกรอกข้อมูล Block
21 h1, h2, h3, h4, h5, h6 Heading 1 – Heading 6 ใช้สำหรับเป็นหัวเรื่องของเอกสาร โดยในเอกสาร จะต้องเริ่มต้นด้วย h1 เสมอ (โดยมากใช้เพียงครั้งเดียว) h2 จะเป็นหัวเรื่องรองของ h1 ส่วน h3 จะเป็นหัวเรื่องรองของ h2 เช่นนี้เรื่อยไปจนถึง h6 ไม่ควรมีการข้ามลำดับของ heading เช่น ข้ามจาก h1 ไป h3 หรือการเลี่ยงไม่ใช้ h1 เพราะคิดว่าตัวหนังสือใหญ่เกินไป (ซึ่งจริง ๆ แล้วสามารถกำหนดขนาดใหม่ได้ใน CSS) โดยทั่ว ๆ ไปแล้วมักจะใช้ h1 - h3 ไม่ค่อยได้ใช้ h4 - h6 มากนัก แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของเอกสาร Block
22 head Head ใช้สำหรับประการส่วนที่เป็นส่วนหัวของเอกสาร HTML ซึ่งมีไว้สำหรับให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอกสาร HTML เช่น คำค้น, ภาษาสคริปต์ที่ใช้,ไสตล์ชีท, ชื่อของเอกสาร ฯลฯ (ไม่แสดงผลในบราวเซอร์) ใช้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นก่อน body Other
23 html HTML (Hyper Text Markup Language) เป็นอิลิเมนต์รากของเอกสาร HTML ประกาศไว้เพื่อบอกว่าเนื้อหาที่อยู่ข้างในนี้จะเป็นเอกสาร HTML และจะมีการใช้ภาษา HTML เพื่อให้บราวเซอร์แปลความหมายได้ถูกต้อง ใช้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น Other
24 img Image ใช้สำหรับทำภาพประกอบเอกสาร Inline
25 Input Input ใช้ใน from เท่านั้น สำหรับทำฟอร์มกรอกข้อมูล มีหลายประเภทให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม Inline
26 kbd Keyboard ใช้สำหรับการมาร์กอัพข้อความที่ต้องการสื่อว่าเป็นตัวอักษรบนแป้นคีย์บอร์ด เช่น <kbd>ALT</kbd> ฯลฯ เพื่อไม่ให้ผู้ใช้สับสนว่าเป็นตัวอักษรหรือข้อความธรรมดา Inline
27 label Label ใช้ใน form เท่านั้น โดยใช้ควบคู่กับอิลิเมนต์ในฟอร์มเพื่อบอกว่าผู้ใช้ต้องกรอกข้อมูลอะไรบ้าง เป็นลักษณะเหมือนป้ายติดไว้เพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจความหมายของสิ่งที่จะต้องกรอกลงไป ต้องกำหนดแอตทริบิวต์ for ทุกครั้งเพื่อบอกความสัมพันธ์ Inline
28 legend Legend ใช้ใน form และต้องอยู่ในแท็ก fieldset เท่านั้น โดยบอกความหมายของ fieldset ว่าเกี่ยวข้องกับอะไร เช่น เป็นส่วนที่ต้องกรอกข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา การทำงาน ฯลฯ Block
29 li List Item ใช้ใน ul หรือ ol เท่านั้น สำหรับมาร์กอัพรายการย่อยของลิสต์รายการ Block
30 link Link ใช้ในส่วน head เท่านั้น มีประโยชน์สำหรับการเรียกใช้งานเอกสาร CSS หรือเอกสารอื่น ๆ หรือบอกความเกี่ยวข้องของเอกสารนี้กับเอกสารอื่น ๆ(ไม่แสดงให้เห็นในบราวเซอร์) เป็นแท็กที่จบในตัวเองในรูป <link /> Other
31 meta Meta เป็นแท็กสำหรับให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอกสาร เช่น ภาษาที่ใช้ คำค้น ชื่อผู้แต่ง ฯลฯ ใช้ในส่วน head เท่านั้นและเป็นแท็กที่จบในตัวเอง คือ <meta /> Other
32 noscript No Script ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถใช้งานสคริปต์บางอย่างได้ เพื่อบอกว่า หากไม่สามารถใช้งานสคริปต์ได้ ให้ทดแทนด้วยเนื้อหาในแท็ก noscript (ไม่แสดงให้เห็นในบราวเซอร์) Other
33 object Object ใช้สำหรับดึงเนื้อหาจากโปรแกรมอื่น ๆ มาใช้ในเอกสาร เช่น Flash Animation ฯลฯ ควรใช้แอตทริบิวต์ alt ด้วยเพื่อให้ข้อความทดแทนในส่วนที่โปรแกรมอ่านหน้าจอของคนพิการทางสายตาไม่สามารถเข้าถึงได้ Block
34 ol Ordered List สำหรับบัญชีรายการแบบเรียงลำดับ Block
35 optgroup Option Group ใช้ในแท็ก select เท่านั้น โดยใช้เป็นหัวข้อให้กับแท็ก option ในกรณีที่ต้องการแบ่ง option ออกเป็นหลาย ๆ ส่วน Other
36 option Option ใช้ในแท็ก select เท่านั้น โดยเป็นรายการสำหรับเลือก หนึ่ง option เท่ากับหนึ่งรายการ Other
37 p Paragraph ใช้สำหรับทำย่อหน้าหรือ paragraph ในเอกสาร เป็นแท็กที่ใช้บ่อยมาก Block
38 samp Sample ใช้สำหรับข้อความที่เป็นผลลัพธ์จากการทำงานของโปรแกรมหรือคำสั่งคอมพิวเตอร์ Inline
39 script Script ใช้สำหรับส่วนที่เป็นสคริปต์ภาษา มักใช้ใน head (ไม่แสดงผลในบราวเซอร์ แต่ทำงานบางอย่าง) Other
40 select Select ใช้ใน form เท่านั้น สำหรับทำรายการ Drop down list เพื่อให้ผู้ใช้เลือกรายการที่ต้องการ Inline
41 span Span เป็นแท็กที่ไม่มีความหมายทางโครงสร้างของเอกสารแต่สามารถใช้ได้ มักใช้สำหรับมาร์กอัพข้อความที่ต้องการเรียกใช้สคริปต์หรือคำสั่งจากเอกสาร CSS เพื่อการแสดงผลอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็น Containing Element เช่นเดียวกับแท็ก div Inline
42 strong Strong ใช้สำหรับข้อความที่มีความหมายสำคัญ บราวเซอร์มักแสดงผลเป็นตัวหนา (ไม่ควรใช้แท็ก b เพราะไม่สื่อความหมาย) Inline
43 style Style สำหรับส่วนที่เป็นคำสั่งสำหรับการตกแต่งเอกสาร ใช้ในส่วน head เท่านั้น Other
44 table Table สำหรับข้อมูลที่เป็นตาราง Block
45 tbody Table Body ใช้ในตารางเท่านั้น เพื่อแบ่งตารางออกเป็นส่วน ๆ ส่วน tbody คือส่วนที่เป็นข้อมูลที่อยู่ในตาราง Block
46 td Table Data ใช้สำหรับใส่ข้อมูลในตาราง Inline
47 textarea Text Area ใช้ใน from เท่านั้นสำหรับทำส่วนกรอกข้อมูลที่เป็นข้อความขนาดยาว Inline
48 tfoot Table Footer ใช้ในตารางในการแบ่งส่วน โดยส่วน tfoot จะเป็นส่วนท้ายของตาราง เช่น สรุปข้อมูล หรือผลลัพธ์จากการคำนวณ Block
49 th Table Header ใช้ในตารางเท่านั้น โดยปกติใช้บริเวณส่วนบนของตาราง โดยเป็นการกำหนดชื่อให้กับคอลัมน์ (แนวดิ่ง) หรือชื่อหัวแถว (แนวนอน) Inline
50 thead Table Head ใช้ในตารางเท่านั้นเพื่อแบ่งตารางเป็นส่วน ส่วน thead คือส่วนที่เป็นหัวของตาราง มักให้ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อคอลัมน์ Block
51 title Title ใช้ในส่วน head เท่านั้น โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อของเอกสาร Other
52 tr Table Row ใช้ในตารางเท่านั้นสำหรับทำแถวข้อมูล Block
53 ul Unordered List ใช้สำหรับบัญชีรายการแบบไม่มีลำดับ (หมายถึง แต่ละรายการภายในสามารถสลับตำแหน่งกันได้โดยไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในเรื่องของลำดับความสำคัญ) Block
54 var Variable ใช้สำหรับการมาร์กอัพคำที่เป็นชื่อตัวแปรในภาษาโปรแกรม เช่น เมื่อบวกด้วยหนึ่งแล้ว ค่าของตัวแปร <var>counterNum</var> ก็จะกลายเป็น 20 ฯลฯ Inline
0SHAREFacebookLINE it!
^