ลิขสิทธิ์ เรื่องที่โปรแกรมเมอร์ต้องรู้
หลายๆคนอาจสงสัยว่า โค้ดที่เราเขียนขึ้น สิทธิ์ในโค้ดจะตกเป็นของใคร ผมขออธิบายเป็นเรื่องๆไปนะครับ
ข้อมูลเพิ่มเติมศึกษาได้จากที่นี่เลยครับ http://ossc.sipa.or.th/dip/
- ลิขสิทธิ์ในซอร์สโค้ด ในส่วนนี้ทางกฏหมายถือว่า ซอร์สโค้ด เป็น "ทรัพย์สินทางปัญญา" โดยได้รับความคุ้มครองเทียบเท่ากับงานวรรณกรรม ซึ่งผู้ที่สร้างสรรค์มันขึ้นมา (Programmer นั่นแหละครับ) เป็นผู้มีสิทธิ์โดยชอบตามกฏหมาย โดยไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน (เหมือนบทความหรือภาพถ่าย ที่เป็นของผู้เขียนหรือผู้ถ่ายภาพ ตั้งแต่ตอนเริ่มเขียนหรือตอนถ่ายภาพ) แต่ก็สามารถแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ ซึ่งจะทำให้เจ้าของสิทธิ์สามารถนำงานอันมีลิขสิทธิ์ไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้เต็มที่มากขึ้น (ฟรีด้วยนะครับ)
- แนวคิดในการทำงานของซอฟต์แวร์ ตลอดจนขั้นตอนการทำงาน และคุณสมบัติต่างๆของซอฟต์แวร์ ไม่ได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ ซึ่งมีความหมายว่า เราสามารถออกแบบขั้นตอนการทำงานต่างๆของเว็บไซต์ให้เหมือนกับคู่แข่งได้ ตราบเท่าที่เราเขียนซอร์สโค้ดนั้นขึ้นมาด้วยตัวเอง หรืออีกนัยหนึ่ง ทำเว็บเหมือนคู่แข่ง(ด้านการทำงานนะครับ) ไม่ผิด
- ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นตามคำสั่งเฉพาะของผู้ว่าจ้าง ผู้ว่าจ้างเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในซอฟต์แวร์นั้น รวมถึง สามารถได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายความลับทางการค้าด้วย แต่กฏหมายก็อนุญาติให้ทำความตกลงกันระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างในลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์นั้นได้ (อธิบายเพิ่มเติมหมายถึงซอร์สโค้ด ส่วนที่เป็นความลับสำคัญทางการค้าของผู้ว่าจ้างที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ ยกตัวอย่างเช่น สูตรอาหาร เป็นต้น)
- ในกรณีที่มีความตกลงจะต้องส่งมอบซอร์สโค้ด (ในโปรแกรมบางประเภท ที่ต้องมีการ Compile ก่อนที่จะนำไปใช้งาน เช่น exe การว่าจ้างเขียนโปรแกรมจะหมายถึง การส่งมอบเฉพาะตัวโปแกรมที่ Compile แล้วเท่านั้น โดยไม่รวมซอร์สโค้ด) ให้ผู้ว่าจ้างด้วยแล้ว ควรตกลงกันให้ชัดเจนด้วยว่า การส่งมอบซอร์สโค้ด เพื่อวัตถุประสงค์ใด เช่น เพื่อวัตถุประสงค์ในความเป็นเจ้าของซอร์โค้ดนั้นจริงๆ (ซึ่งผู้รับจ้างจะไม่สามารถนำไปพัฒนาต่อได้เลย) หรือเพียงเพื่อการปรับปรุง แก้ไขในอนาคต
ข้อมูลเพิ่มเติมศึกษาได้จากที่นี่เลยครับ http://ossc.sipa.or.th/dip/