บทที่ 3 object XMLHttpRequest หัวใจของ AJAX
Object นี้มี Method และ Property ดังนี้
Methods ของ XMLHttpRequest Object
open(method, url, async) เปิดการติดต่อกับ Server
method เป็น GET หรือ POST กำหนดวิธีการส่ง query
url เป็นที่อยู่ของ page ที่จะเรียกเพื่อทำงานต่อ
async กำหนดการทำงานเป็นแบบ Asynchronous หรือไม่
send(query) ทำการส่งข้อมูล
พารามิเตอร์ query เป็นค่าที่ส่งไปยังปลายทาง
abort() หยุดการทำงานปัจจุบัน
getAllResponseHeader() คืนค่า Header ที่ส่งมา
getResponseHeader(header) คืนค่า Header ที่กำหนด
พารามิเตอร์ header ค่า header ที่ต้องการอ่าน
setRequestHeader(header, value) กำหนด header ไปยังปลายทาง
พารามิเตอร์ header ค่า header ที่ต้องการกำหนด
พารามิเตอร์ value ค่าที่ต้องการกำหนด
Properties ของ XMLHttpRequest Object
onreadystatechange เหตุการณ์เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสถานะการทำงาน
status รหัสตัวเลขที่คืนมาจาก Server เพื่อแสดงสถานะการทำงาน
200 = ตกลง
400 = ค้นหาไม่พบ
statusText ข้อความที่ส่งมาจาก Server เพื่อแสดงสถานะการทำงาน
responseText ข้อมูลที่ส่งมาจาก Server ในรูปข้อความ
responseXML ข้อมูลที่ส่งมาจาก Server ในรูปเอกสาร XML
readyState ตัวเลขแสดงสถานะการทำงาน
0 = ยังไม่เริ่มทำงาน
1 = กำลังส่งข้อมูล
2 = ส่งข้อมูลเรียบร้อย
3 = กำลังประมวลผล
4 = จบการทำงาน
เนื่องจากความแตกต่างกันของ บราวเซอร์ ทำให้การเรียกใช้งานบน บราวเซอร์ต่างๆ ต่างกัน โดยที่ บน IE เราจะเรียกผ่าน ActiveX แต่ในบราวเซอร์ อื่นๆ เราจะเรียกผ่าน Native Javascript Object ดังนั้นในการใช้งานเราต้องทำการ ตรวจสอบชนิดของบราวเซอร์ก่อนการใช้งาน
function Inint_AJAX() {
try { return new ActiveXObject("Msxml2.XMLHTTP"); } catch(e) {} //IE
try { return new ActiveXObject("Microsoft.XMLHTTP"); } catch(e) {} //IE
try { return new XMLHttpRequest(); } catch(e) {} //Native Javascript
alert("XMLHttpRequest not supported");
return null;
};
จากโค้ดนี้เป็นการเลือกการใช้งาน AJAX โดยวิธีการตรวจสอบ error ถ้าพบ error (ไม่สามารถเรียกใช้ object นั้นได้) จะไปทำการเรียกใช้ Object ถัดไปทันที
function start() {
var req = Inint_AJAX(); //สร้าง Object
req.open('GET', 'test3.php', true); //กำหนด สถานะการทำงานของ AJAX
req.onreadystatechange = function() { //เหตุการณ์เมื่อมีการตอบกลับ
if (req.readyState==4) {
if (req.status==200) { //ได้รับการตอบกลับเรียบร้อย
var data=req.responseText; //ข้อความที่ได้มาจากการทำงานของ test3.php
document.getElementById("content").innerHTML="ข้อความที่ตอบกลับจาก server คือ "+data; //แสดงผล
}
}
};
// Header ที่ส่งไป
req.setRequestHeader("Content-Type", "application/x-www-form-urlencoded");
// ทำการส่ง
req.send(null);
};
ในการเรียกใช้ AJAX จะเป็นการเรียกใช้ ฟังก์ชั่น start() ซึ่งจะทำให้ AJAX ทำงาน ไปเรียกให้ test.php มาทำงาน และส่งผลลัพท์ คืนกลับมาทาง req.responseText เอามาแสดงผลต่อไป
ไฟล์ test3.php ที่ AJAX เรียกไป
<?
echo "test.php";
?>
อ้างอิง WikiPedia
ตัวอย่าง