เริ่มต้นกับ UTF-8 พร้อมโปรแกรมแปลง TIS-620 เป็น UTF-8
สำหรับคนไทยถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะเปลี่ยนจาก TIS-620 เป็น UTF-8 ? ในเรื่องนี้ ก็คงต้องแล้วแต่ความคิดส่วนตัวของแต่ละบุคคลครับ ว่าสามารถยอมรับระบบใหม่ได้ไหม แต่ในปัจจุบันสำหรับครับคิดผมก็คือ ถึงเวลาแล้วสำหรับ UTF-8 การที่เราจะรออนาคตให้มีการเปลี่ยนแปลงแล้วเราจะเปลี่ยนตาม ตัวเราเองน่าจะเป็นผู้กำหนดอนาคตเอง มากกว่าให้คนอื่นมากำหนดอนาคตให้กับเรา
ในอดีตภาษาไทยที่มาก่อนรหัส TIS-620 (รหัสสมอ.) นั่นก็คือรหัสเกษตร สำหรับใครที่ใช้ DOS สมัยก่อน คงจะรู้จักกันดี ในอดีตเราก็ยังเปลี่ยนแปลงจากรหัสเกษตรเป็น TIS-620 ได้ การที่เราจะเปลี่ยนแปลง ปัจจุบัน UTF-8 ใกล้ชิดกับตัวเรามากที่สุด โดยที่เราไม่รู้ตัว ยกตัวอย่างเช่น ชื่อไฟล์ภาษาไทยที่อยู่บน Windows XP นั้นก็เป็น UTF-8 อยู่แล้ว แต่เรายังไม่รู้ตัว, Google ก็ทำงานแบบ UTF-8 โดยที่เราไม่รู้ตัว บางคนที่ใช้ Gmail อาจโทษว่า "Gmail ไม่รองรับภาษาไทย ส่งให้คนอื่นอ่านแล้วอ่านไม่ออก" ตรงนี้บอกได้เลยครับว่า ไม่ต้องโทษ Gmail หรอกครับ ต้องโทษระบบอีเมล์ที่ไม่ยอมทำความรู้จักกับ UTF-8 น่าจะถูกต้องกว่า อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมือถือที่เป็น OS Symbian, Pocket PC เค้าก็ใช้ UTF-8 กันแทบทั้งสิ้น ตอนนี้มีเพียงคำถามเดียวครับว่า เรายังจะยึดติดอยู่ที่ TIS-620 ไปตลอดหรือ ? หากใครยังชั่งใจอยู่ในเวลานี้ ก็ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงจริงๆ จังๆ อีกที
เริ่มต้นกับ UTF-8 มีคำถามมากมายเกี่ยวกับ UTF-8 ผมขอแยกเป็นข้อๆ ในส่วนของข้อดีและข้อเสีย
แล้วลองพิจารณาดูนะครับว่า ขณะนี้เราพร้อมแล้วหรือยังกับ UTF-8
ข้อดีของ UTF-8 กับ TIS-620
- รองรับได้หลายภาษา แน่นอนที่สุดสำหรับผมเลือกใช้เพราะสาเหตุนี้
- ภาษาโปรแกรมมิ่งทั้งหลายรองรับ UTF-8
- เข้ากันได้ดีกับรหัส ASCII
- การแปลงเป็น Charset ชนิดอื่นไม่ยุ่งยากโดยใช้ ICONV
- สามารถเรียงลำดับอักษรภาษาไทยได้ 100% ไม่มีผิดเพี้ยน
ข้อเสียของ UTF-8 กับ TIS-620
- มีปัญหาการทำงานกับฟังก์ชั่นในบางภาษา
- ภาษาไทยไม่ได้มีเพียงแค่ TIS-620 (มีทั้ง CP874, MacThai) อ้างอิงจาก http://www.gnu.org/software/libiconv/
- เสียเวลาในการเขียนโปรแกรมแปลงฐานข้อมูล และไฟล์ให้เป็น UTF-8
- การออกแบบฐานข้อมูล (Field) ต้องไม่ยึดติดกับความกว้างตัวอักษรแบบเดิม เพราะ UTF-8 จะเก็บเป็น Byte สรุปคือต้องขยายความกว้าง Field เกือบทุก Field ที่เป็น Varchar เพื่อรองรับ UTF-8
ปัญหาสำหรับนักพัฒนาภาษา PHP กับ UTF-8 การปรับมาใช้ UTF-8 นั้นก็เป็นปัญหาสำหรับโปรแกรมเมอร์เหมือนกัน โดยตัวอย่างที่ผมจะอธิบายต่อไปนี้ ก็ขออ้างอิงถึงภาษา PHP ครับ เพราะปัจจุบันผมก็เขียนโปรแกรมกับภาษานี้อยู่ ซึ่งปัญหาหลักๆ เกิดจากการเขียนโปรแกรมแล้วเลือกใช้บางฟังก์ชันไม่ได้ หรือต้องปรับแก้โปรแกรมหรือใช้ฟังก์ชันที่รองรับ UTF-8
ฟังก์ชันที่มีปัญหากับ UTF-8 ในภาษา PHP อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.phpwact.org/php/i18n/utf-8 โดยแต่ละฟังก์ชันจะมีการแจกแจงผลกระทบตั้งแต่ระดับ สูง - กลาง - ต่ำ ละเอียดดีครับ
พร้อมแล้วหรือยังที่จะแปลงระบบโปรแกรมและฐานข้อมูลเป็น UTF-8 ? ข้อนี้ต้องถามตัวเองแล้วครับว่าพร้อมแล้วหรือยัง ส่วนผมพร้อมแล้วและก็ทำไปแล้ว ท่องไว้ครับคำนี้นะ "อย่ายึดติดกับระบบเดิมๆ" ปัญหาต่างๆ เหล่านี้สามารถแก้ไขได้ครับ เพราะว่าบางฟังก์ชันเราก็เขียนขึ้นมาใหม่ แทนที่ฟังก์ชันเดิมที่ไม่รองรับ UTF-8 ว่าแล้วก็แจกโปรแกรมแปลงเลยครับ โดยในโปรแกรมจะมีตัวอย่างฟังก์ชัน substr_utf8 ที่เขียนขึ้น โดยสามารถรองรับ UTF-8 แทนฟังก์ชัน substr เดิมที่มีอยู่
โปรแกรมแปลงระบบเป็น UTF-8
1. โปรแกรมแปลงฐานข้อมูล MySQL จาก TIS-620, CP874, MacThai เป็น UTF-8
2. โปรแกรมแปลงไฟล์ จาก TIS-620,CP874,MacThai เป็น UTF-8
ดาวน์โหลดได้จาก : http://prdownloads.sourceforge.net/...tf8-1.0.zip?download
** หมายเหตุ ** โปรแกรมที่แจกไม่ใช่ Freeware ไม่ใช่ Shareware แต่เป็น Open Source นะครับ สงวนลิขสิทธิ์ในรูปแบบ GPL สรุปคือเอาไปใช้กันได้เลยครับไม่ต้องคิดมาก และที่สำคัญโปรแกรมอาจจะมี Bug บ้าง ใครแก้ Bug แล้วกรุณาส่งกลับมาด้วยครับ เผื่อจะได้แจกจ่ายให้กับคนอื่นๆ อีกต่อไปครับ ตอนแก้ใส่ Credit มาด้วยนะครับว่าแก้ตรงไหน โปรแกรมนี้ สามารถแปลงจาก Charset ไหนๆ ก็ได้ในโลก ไปเป็น Charset ไหนๆ ก็ได้อีก ทำได้โดยแก้ไข Source Code กันเอาเองนะครับ ถ้าอยากแปลงเป็นอย่างอื่น วิธีการใช้งานต่างๆ มีอยู่ในไฟล์โปรแกรมแล้วครับลองเปิดดู
ข้อมูลอ้างอิง TIS-620
- http://www.nectec.or.th/...ds/std620/std620.htm
- http://software.thai.net/tis-620/index.html
- http://linux.thai.net/...tt/docs/tis-620.html
- http://en.wikipedia.org/wiki/TIS-620
ข้อมูลจาก http://www.appservnetwork.com/...e=article&sid=3#